วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

การสื่อสารด้านต่างๆ

ข้อความเหล่านี้คัดตัดตอนมาจาก คำบรรยายประกอบการอัญเชิญภาพยนตร์ ส่วนพระองค์ที่ได้บันทึก พระราชกรณียกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยนำเสนอในรูปวีดี ทัศน์ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตร เนื่องในงาน "ไอทีเฉลิมพระเกียรติ" ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เรื่องการเดินทางจากประเทศไทยสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) การเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ถึงสวิส ใช้เวลาบิน 3 คืน 4 วัน คืนที่หนึ่งแวะซีลอน คืนที่สองแวะการาจี คืนที่สามไคโร วันที่สี่จึงถึงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันบินรวดเดียว ใช้เวลาสิบเอ็ดชั่วโมงก็ถึงแล้ว ฉะนั้นการติดต่อรับข่าวสาร จดหมาย หรือข่าวสารทาง หนังสือพิมพ์ที่ส่งจากประเทศ ไทยใช้เวลานาน ถ้าจะเทียบกับปัจจุบันมีข่าวสารผ่านดาวเทียม ยิ่งเวลาทางประเทศยุโรปช้ากว่าประเทศไทยประมาณหกชั่วโมง อเมริกาสิบสองชั่วโมง อะไรที่เกิดขึ้นในบ้านเราวันนี้ ทางประเทศยุโรปหรืออเมริกาก็ทราบข่าวนั้นๆ ในวันเดียวกัน ส่วนที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการในเรื่องความเร็วของเครื่องบิน วิวัฒนาการในการ ส่งข่าวคราว วิวัฒนาการในการแข่งขันกันเป็นที่หนึ่งในโลกที่โลกถือว่าสำคัญนั้น ก็คือความเป็นห่วงบ้านเมือง และประชาชน คนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงพัฒนาให้ประชาชน และประเทศชาติมีความ เจริญมั่นคง ตามที่เคยมีประชาชนร้องออกมาดังๆ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงกลับไปศึกษาต่อเมื่อทรงรับภาระปกครองประเทศแล้วนั้นว่า "อย่าละทิ้งประชาชน" ได้พระราชทานคำตอบผ่านหนังสือวรรณคดีว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้" กาลเวลาที่ทรงครองราชย์ 50 ปี ได้พิสูจน์แล้วว่าพระองค์ มิได้ทรงละทิ้งประชาชนของพระองค์เลย ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่ประเทศสวิส ก็มีประชาชนส่งข่าวและข่าวจากหนังสือพิมพ์ต่างๆ แสดงความห่วงใย จึงทรงหาทางเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตลอดเวลาผ่านหนังสือวรรณคดี และหนังสือพิมพ์แสตน์ดาร์ด ภาษาอังกฤษ ทำให้ประชาชนที่ประเทศไทยคลายความกังวลได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของข่าวสาร จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ "องคต" ทำหน้าที่สื่อข่าวถึงประชาชนชาวไทยในประเทศตลอดเวลาที่เสด็จประทับอยู่ ณ โลซานน์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน คราวที่ทำการต่อเติมพระตำหนักจิตรลดา รัฐบาล ได้รับน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้นขนาดกำลังส่ง 100 วัตต์ พระราชทานชื่อสถานีวิทยุว่า สถานีวิทยุอ.ส. พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สถานีวิทยุให้เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วประเทศ เมื่อเริ่มตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรับเครื่องส่งวิทยุเอง ทรงจัดรายการและทรงเปิด แผ่นเสียงเอง ทรงบันทึกเสียงรายการวงดนตรีของ นักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด วงดนตรีไทย วงข้าราชบริพาร เป็นต้น โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชนมาบรรยายเพื่อเป็นวิทยาทาน ส่วนวงดนตรีไทยและวงดนตรีของทางราชการ เช่น วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีกรมศิลปากร กองทัพบกกองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้มาบรรเลงที่ห้องส่งของสถานีวิทยุ อ.ส. และในรายการ ดนตรีสำหรับประชาชนที่เวทีสวนอัมพร ในวันพุธบ่าย และวันอาทิตย์เช้าถึงเที่ยง ตั้งแต่ยังไม่มีโทรทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่า นักเรียน ต้องคร่ำเคร่งกับการเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สมควรจะได้มีการพักผ่อนระหว่างอาทิตย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิตจัดรายการดนตรีขึ้นในวันพุธบ่าย สามารถลดการนัดชุมนุมของนักเรียนที่ตีกันระหว่างโรงเรียนลงมาได้ อย่างมาก นับว่าได้ผลอย่างยิ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศ สถานีวิทยุ อ.ส. พระราช วังดุสิต ก็ร่วมกับสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการทหารสื่อสาร ถ่ายทอดการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง ทำให้ประชาชนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ได้ยินได้ฟังพระสุรเสียงที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ด้วย ในปี พ.ศ. 2495 เกิดโรคโปลิโอระบาด ภาษาไทยเรียกว่า ไข้ไขสันหลังอักเสบ พอเป็นแล้วจะมีอาการหายใจไม่ออก ต้องใช้ปอดเหล็กช่วย ต้องมาฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ต้องใช้เครื่องพยุงออกกำลังกล้ามเนื้อด้วยการว่ายน้ำและลงอ่างอาบน้ำอุ่น เพื่อใช้ ความแรงของน้ำกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้นด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสถานที่ฟื้นฟูบำบัด โรค โปลิโอ พระราชทานพระนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า ตึกวชิราลงกรณ์ธาราบำบัด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต เชิญชวนประชาชนโดยเสด็จพระราชกุศล หรือพูดง่ายๆ ว่า ทำบุญร่วมกับในหลวง ประชาชนก็หลั่งไหลนำเงินมาทูลเกล้าฯ ถวายมากมายเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาจนโรคนั้นหายไป พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" และเรื่อง "ติโต" ก็เป็นสื่อทางการพิมพ์เรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" แสดงให้เห็นถึงความเสียสละของบุคคลตัวอย่าง ที่มีความกล้าหาญ เสียสละ ยอมอุทิศแม้ชีวิตเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เสรีภาพและ สันติภาพ โดยไม่หวังให้ใครรับรู้ หรือหวังในลาภยศหรือคำสรรเสริญเยินยอใดๆ ทั้งสิ้น นายอินทร์คือตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของ "ผู้ปิดทองหลังพระ" พระราชนิพนธ์แปลอีกเรื่องคือ "ติโต" ติโตเป็นผู้ทำให้ประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยชนชาติ ที่แตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ให้มารวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นประเทศยูโกสลาเวียได้ และในยามวิกฤต สามารถแก้ไขให้ผ่านพ้น ทั้งรักษาความสมบูรณ์ เพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของติโต เมื่อติโตสิ้นชีวิตแล้ว ปัจจุบันนี้เหตุการณ์ทุกข์เข็ญที่เกิดจากความแตกแยกของเผ่าต่างๆ ภายในประเทศ และศัตรูภายนอกประเทศ ดังเห็นอยู่ใน ปัจจุบันนี้ว่า ขาดผู้ปกครองอย่างติโตแล้วเป็นอย่างไรสื่อทางหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ รวมทั้งช่างภาพและนักข่าว ได้เผยแพร่ข่าวสารในเรื่องพระราชกรณียกิจ ในด้านงานพระราช พิธีพระราชกิจต่างๆ และบรรดาผู้มีส่วนในการพระราชกุศลต่างๆ ขอยกตัวอย่างเรื่องที่สื่อมวลชนแพร่ข่าวของมูลนิธิราช-ประชานุเคราะห์ เมื่อเหตุการณ์ทุกข์ภัยเกิดขึ้น ก็ลงข่าว ติดตามข่าว เผยแพร่ข่าว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เชิญชวนให้ประชาชน โดยเสด็จพระราชกุศล เป็นการทำบุญร่วมกับในหลวง แล้วเผยแพร่และติดตามในเรื่องความช่วยเหลือ จนถึงมือผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ข่าวการจัดตั้งโรงเรียนในจังหวัดต่างๆ การมอบทุนพระราชทานการศึกษาประจำปี ทำให้ประชาชนทราบผลงานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะ สามารถสะท้อนความรู้สึกของผู้ที่รับความช่วยเหลืออย่างลึกซึ้ง ประทับตาประทับใจ ทำให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง และผู้ชมภาพมีความชื่นชมยินดีที่เห็นภาพ และทราบว่าของที่เขาทำบุญร่วมกับในหลวงนั้นถึงมือผู้รับแล้ว ทั้งยังเคยพระราชทานคำแนะนำช่างภาพและนักข่าวในเรื่อง การถ่ายภาพในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น เมื่อมีการ พระราชทานเลี้ยงพระราชอาคันตุกะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 สี่สิบปีที่ผ่านมา เช่น สถานที่คับแคบก็ต้องมีพูล ร่วมกันทำทุกสถานีพร้อมกัน ทำให้ช่างภาพและผู้สื่อข่าวทำงานได้น้อยคน และช่างภาพควรจะต้องทำหน้าที่นักข่าวไปในตัวด้วย หรือควร ถ่ายภาพในระยะไกลพอสมควร เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ ทรงยกระดับช่างภาพจากสมัยก่อนใช้คำว่า ควบคุมช่างภาพ ปัจจุบันใช้คำว่าอำนวยความสะดวกช่างภาพ ดนตรีเป็นภาษาสากล ทุกชาติ ทุกประเทศมีดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อตั้งแต่ระดับนักเรียนนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย วงดนตรีทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ รวมทั้งส่วนราชการต่างๆ และวงดนตรีเอกชน ทรงพระราชนิพนธ์ "เพลงสากล" และอนุรักษ์เพลงไทยมิให้เสื่อมสูญ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคราวเสด็จเยือนต่างประเทศ ทรงใช้ ดนตรีเป็นสื่อในการกระชับ สัมพันธไมตรีได้อย่างดีเลิศภาพนิ่ง ภาพยนตร์ โปรดให้มีช่างภาพส่วนพระองค์ตั้งแต่เสด็จนิวัติกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนนั้นสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงบันทึกพระราชประวัติไว้ ทั้งภาพนิ่งและภาพยนตร์ 16 มม. ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) ทรงกำหนดวิธีการจัดเก็บแถบบันทึกภาพ บันทึกเสียง ฟิลม์ ฯลฯ ด้วยพระองค์เองเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถค้นหาได้โดยสะดวก แม้แต่การปรู๊ฟฟิล์มภาพนิ่งขนาด 35 มม. สามารถที่จะเลือกรูปได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะใช้ระบบไมโครฟิล์ม กัน วิธีปรู๊ฟมีเลขหมายบันทึกนำปรู๊ฟขึ้นมาเลือกโดยใช้แว่นขยาย แทนที่จะต้องมีเครื่องฉายไมโครฟิลม์ สื่อมวลชน ทั้งภาพนิ่ง และภาพยนตร์ ดังกล่าว ได้มีผู้ขอพระราชทานถ่ายทอดไปไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียติคุณเรื่องการสร้างคน ทรงสร้างคนหลายระดับเพื่อช่วยบริหารกิจการด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนประเทศชาติในปัจจุบัน และ อนาคต ตั้งแต่ ระดับมันสมองของประเทศ ทรงตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล มีผู้สำเร็จมาแล้วและได้ทำประโยชน์ เช่น คุณหมอจรัสสุวรรณเวลา, ดร. ปราโมทย์ ไม้กลัด, คุณหมอประเวศ วะสี, ท่านผู้หญิงศรีจิตรา ระดับผู้ที่ประสบภัยพิบัติจากสาธารณภัย จากคนที่หมดหวังไปสู่ความหวังที่สำเร็จบริบูรณ์ โดยช่วยตนเองและครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคม บุคคลที่เป็นโรค ติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน ผู้หมดอาลัยตายอยากในชีวิต เพราะถือว่าเป็นโรคเวรโรคกรรม ให้มีใจเข้มแข็ง รับการรักษา จนหายจากโรค และรับการแก้ไขในเรื่องความพิการ นักเรียนหูหนวก ตาบอด สภากาชาด ศูนย์บริการโลหิตแห่งช

ไม่มีความคิดเห็น: