วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551
วันครู
ความหมายครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติความเป็นมาวันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้การจัดงานวันครูการจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้ 4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ 7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วน ตน 8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ 9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา 10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงานคำปฏิญาณตนของครูข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นบทสวดเคารพครูอาจารย์คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกาปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ผู้ก่อประโยชน์ศึกษาทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยาแก่ข้าในกาลปัจจุบันข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ด้วยใจนิยมบูชาขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพาปัญญาให้เกิดแตกฉานศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนานอยู่ในศีลธรรมอันดีให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวีแก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯข้าขอประนมกระพุ่ม อภิวาทนาการกราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรรสิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประครองธรรม์ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอนให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพรท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสารโอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาลไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญลุฉลาดประสาทสรรพ์บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครันเพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล มนเทิดผดุงธรรมปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณโปรดอวยพรสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ
วันครู
ความหมายครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติความเป็นมาวันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้การจัดงานวันครูการจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้ 4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ 7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วน ตน 8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ 9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา 10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงานคำปฏิญาณตนของครูข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นบทสวดเคารพครูอาจารย์คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกาปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ผู้ก่อประโยชน์ศึกษาทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยาแก่ข้าในกาลปัจจุบันข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ด้วยใจนิยมบูชาขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพาปัญญาให้เกิดแตกฉานศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนานอยู่ในศีลธรรมอันดีให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวีแก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯข้าขอประนมกระพุ่ม อภิวาทนาการกราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรรสิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประครองธรรม์ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอนให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพรท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสารโอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาลไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญลุฉลาดประสาทสรรพ์บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครันเพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล มนเทิดผดุงธรรมปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณโปรดอวยพรสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ
พระไตรปิฏกคอมพิวเตอร์
ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2534 ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและ อรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 ทรงเห็นว่าโครงการนี้ควรได้รวบรวมเอาชุด อรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นโครงการที่นำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหาทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระ บรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล ในฐานะแห่งองค์ เอกอัครศาสนูปถัมภก การครั้งนี้กล่าวได้ว่า เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไปในอนาคตกาล เพราะ โครงการพระราชดำรินี้ เป็นส่วนสนับสนุนอย่างสำคัญที่ทำให้การศึกษาพระไตรปิฎกและชุดอรรถกถา เป็นไปได้อย่าง สะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งรวบรวมเนื้อหาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเผยแผ่พระ พุทธศาสนา นับเป็นการใช้วิทยาการอันก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์สำหรับโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาตามพระราชดำรินี้ ได้พัฒนาแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2534 ในชื่อ BUDSIR IV โดยพัฒนาต่อเนื่องจาก โปรแกรม BUDSIR (อ่านออกเสียงว่า บุดเซอร์) มาจากคำว่า Buddhist Scriptures Information Retrieval สำหรับประวัติของ BUDSIR นั้น BUDSIR I สามารถค้นหา คำทุกคำ ศัพท์ทุกศัพท์ ทุกวลี ทุกพุทธวจนะ ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก จำนวน 45 เล่ม หรือข้อมูลมากกว่า 24.3 ล้าน ตัวอักษร ที่ได้รับการบันทึกในคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์ BUDSIR II พัฒนาแล้ว เสร็จในเดือนกันยายน 2532 ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกอักษรโรมัน สำหรับการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศ BUDSIR III ได้รับการพัฒนาขึ้นอีกในเดือนเมษายน 2533 เพื่องานสืบค้นที่มีความซับซ้อน สำหรับ BUDSIR IV นี้ ได้รวบรวม พระไตรปิฎกและอรรถกถา/ฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ทุกเล่มที่ใช้ศึกษาหลักสูตรเปรียญธรรม นอกจากนี้ยังรวม version ที่เป็นอักษรโรมันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีขนาดข้อมูลรวม 115 เล่ม หรือประมาณ 450 ล้านตัวอักษร นับเป็นพระไตรปิฎกและ อรรถกถา ฉบับคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้พัฒนาโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม โดย บันทึกพระไตรปิฎกและอรรถกถา ลงบนแผ่น CD-ROM แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2537 ซึ่งจะอำนวยความสะดวก อย่างมากต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศซึ่งมหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในวันที่ 18 มกราคม 2538 และในปัจจุบันสำนักคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มโครงการพัฒนาโปรแกรมพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ศึกษา อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้งานโปรแกรมนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรง ศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์ นั้นทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบ ตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ บันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรง เคยประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทยความเป็นมาที่พระองค์ท่านทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์นั้น ม.ล.อัศนี ปราโมช ได้ตกลงใจซื้อคอมพิวเตอร์แมคอินทอชพลัส อันเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุด ในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯถวาย คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ ม.ล.อัศนี เลือกเครื่องนี้ เพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ การเรียนรู้และใช้งานไม่ยาก ทั้งยังอาจเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วย ตั้งแต่นั้น พระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ต-เพลงและเนื้อร้อง พระองค์ท่านทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง สำหรับเรื่องอักขระ คอมพิวเตอร์หรือฟอนต์ (Font) นั้นเป็นที่สนพระราชหฤทัย ก็เพราะหลังจากที่พระองค์ท่านได้ทรงศึกษา และใช้ คอมพิวเตอร์ทำโน้ตคือเมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ และทรงทดลองใช้โปรแกรม "Fontastic" เมื่อประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ สิ่งที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายแบบ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ฯลฯ ทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงเล็กที่สุดนอกจากนี้ยังตั้งพระทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆเพิ่มขึ้น คือภาษาสันสกฤต ละทรงดำริจะประดิษฐ์อักษรภาษาญี่ปุ่น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มประดิษฐ์ รับสั่งว่าต้องใช้เวลามาก ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัวเทวนาครี บนจอภาพ หรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกว่า"ภาษาแขก"ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทย เพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นรูปแบบไม่คงที่ กล่าวคือ ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งของอักษร จะเกิดอักษรใหม่ขึ้น และ โปรแกรมที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้นมีตัว phonetic symbols การสร้างตัวอักษรเทวนาครีนั้น ทรงเริ่มเมื่อประมาณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2530 ทรงศึกษาตัวอักษรเทวนาครีด้วยพระองค์เองจากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤต และ ทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และท่าน องคมนตรี ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้น พระองค์นำโปรแกรมออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีคำถามว่า เหตุใดพระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาครี หรือภาษาแขก เรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่า ในหลวงที่รักของพวกเรานั้น ทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง และลึกซึ้ง การที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขก ก็เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจด้านอักษรศาสตร์ และความเข้าใจในหัวข้อ ธรรมะนั่นเอง เรื่องนี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนัก เพราะคำสอนและข้อธรรมะในพุทธศาสนานั้นเดิมทีก็เกิด และเผยแพร่มาจากประเทศอินเดีย บรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกตีความผันแปรบิดเบือนไปได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปถึงภาษาแขก จึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจนกระจ่างมากขึ้น ต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible และทรงสนพระทัยศึกษาในการพัฒนา Software ต่างๆ และได้ สร้างโปรแกรมใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้งสนพระทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้มากทีเดียว บางครั้ง ทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ ภายในด้วยพระองค์เอง หรือทรงปรับปรุง Software ใหม่ขึ้นใช้ ทรงแก้ซอฟต์แวร์ ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ งานทรงพระอักษรส่วนพระองค์ และทรงเก็บงานเหล่านี้เป็นเรื่องๆ มาปะติดปะต่อกัน จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ เช่น เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นต้น ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ก็คือ การใช้คอมพิวเตอร์"ปรุง"อวยพรปีใหม่ เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เดิมพระองค์ได้พระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์นอกจากนี้พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์ เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระองค์สนพระทัยซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างละเอียดและ เป็นเวลานาน
การพัฒนาชนบท
โครงการพัฒนาชนบทในระยะแรกนั้น สาระสำคัญของโครงการนั้น จะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่ราษฎรทั้งสิ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกินดีอยู่ดี โดยได้ทรงศึกษาและหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยพระองค์เอง โครงการพัฒนาชนบทที่อาจนับได้ว่าเป็นโครงการแรกนั้น คือ โครงการสร้างถนนเข้าไปยังห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยได้พระราชทานรถบูลโดเซอร์ ให้ค่ายนเรศวรไปใช้ในการดำเนินการ พระองค์ทรงเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และประชาชนประมาณร้อยละ ๘๐ อยู่ในสาขาเกษตรกรรม และส่วนมากจะเป็น ชาวไร่ชาวนาที่ยากจน ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาจึงทรงเน้นในเรื่อง เกษตรกรรม โดยทรงเริ่มศึกษาเรื่องการเกษตร ในบริเวณสวนจิตรลดา และปัจจุบันก็ยังทรงทำการศึกษาอยู่ โดยจะเน้นในเรื่องของข้าวและพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ ยังทรงริเริ่มโครงการ "พัฒนาที่ดิน" โดยการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎร โดยที่ทรงเห็นว่า สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่ง ที่ทำให้ชาวไร่ชาวนาตกอยู่ในสภาพที่ล้าหลัง คือการขาดแคลนที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินไม่เพียงพอกับ การทำมาหากิน ตลอดจนถึงการขาดแคลนปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต จึงทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ ของเกษตรกรเหล่านั้น ให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งถ้าทำสำเร็จและกระจายไปได้ทั่วประเทศแล้ว ประเทศไทยก็จะ มีความมั่นคงโดยรวมด้วย โครงการทดลองต่างๆในสวนจิตรลดา นอกจากเพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆแล้ว ยังมีพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา ทรงริเริ่ม ที่จะมีแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศที่สำคัญ ๒ ประการ๑. การพึ่งตนเอง ทรงเน้นการพัฒนาที่มุ่งสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ทุกชุมชนในลักษณะการพึ่งตนเอง ซึ่งทรงใช้คำว่า การระเบิดจากข้างใน หมายความว่า ทำให้ชุมชนแข็งแรงก่อน แล้วค่อยขยายออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่เป็นการเอาความเจริญจากสังคมภาย นอกเข้าไป ในขณะที่ชุมชนไม่มีโอกาสเตรียมตัว การสร้างความแข็งแรงให้ชุมชนนั้น ทรงเน้นโครงสร้างพื้นฐานซึ่งก็คือ แหล่งน้ำ ดังพระราชดำรัสที่พระองค์ ท่านทรงประทานแก่ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ว่า "...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภคน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..." กล่าวอีก นัยหนึ่ง แนวทางนี้เป็นการพัฒนาในลักษณะมุ่งเตรียมชุมชนให้พร้อมต่อการติดต่อสัมพันธ์ กับโลกภายนอกอย่างเป็นขั้นตอน ๒. การส่งเสริมความรู้สมัยใหม่และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสอยู่เสมอว่า โครงการของพระองค์นั้น ที่แท้จริงแล้ว ไม่ใช่โครงการพัฒนาที่มีลักษณะพิเศษ อย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นโครงการที่มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ประชาชนประสบอยู่ โดยที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาใน จุดที่มีความต้องการแก้ไขอย่างรีบด่วน ซึ่งประชาชนไม่สามารถรอได้ ในเรื่องนี้พระองค์ทรงมีพระราชดำริชัดเจนว่า "เราต้องถือจิตวิทยา ต้องไปเร็วที่สุด"พระองค์ทรงเห็นว่าสิ่งที่ชาวชนบท ส่วนใหญ่ยังขาดแคลนก็คือ เรื่องความรู้ในการ ทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่องนี้ทรงเน้นถึง ความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความ สำเร็จ" ในเรื่องของการพึ่งตนเอง โดยมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรนำเอา ตัวอย่างนี้ไปปฏิบัติได้เองและนำไปปฏิบัติ อย่างแท้จริง ตัวอย่างของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้คิดค้นขึ้นมา เช่น ฝนหลวง ฯลฯ แต่พระองค์ ทรงย้ำว่า การที่จะบรรลุถึงเป้าหมายข้างต้นนั้นจะต้องมีวิธีการปฏิบัติดังนี้ ๑. การพัฒนาโดยยึดปัญหาและสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก โดยเฉพาะทรงให้ความสำคัญกับความกระตือรือร้นของคนในพื้นที่ รวมทั้งปัญหาและความต้องการของเขาเหล่านั้นมากเป็นพิเศษ ๒. การรวมกลุ่มประชาชนเพื่อแก้ปัญหาหลักของชนบท ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาพึ่งตนเอง โดยเฉพาะการรวมตัวกันในรูปสหกรณ์ โดยทรงเน้นเสมอถึงความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกัน หรือเพื่อให้การทำมาหากินของชุมชนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. การพัฒนาจะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทรงมีพระราชดำริอยู่เสมอว่า ชุมชนควรจะพึ่งตัวเองในเรื่องของอาหารก่อนแล้วค่อยก้าวไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ
การพัฒนาประเทศ
ตั้งแต่เถลิงถวัลย์สิริสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวเปรียบประดุจดังการสร้าง "พระคลังข้อมูลด้านการพัฒนา" โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 2,400 โครงการ การพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้น พระองค์ทรงให้ความสำคัญ ที่การพัฒนาคน ให้อยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน พระองค์ทรงใช้หลักในการพัฒนาที่เป็นเหตุเป็นผล โดยคำนึงถึงความ รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ ทรงเน้นการประยุกต์ศาสตร์แขนงต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทรงกระทำสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การพลังงาน การสาธารณสุข การคมนาคม การพัฒนาแหล่งน้ำ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น พระปรีชาสามารถในการนำเอาความรู้ความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการทำนุบำรุงประเทศนั้นเป็นที่ทราบกันดี ไม่เพียงแต่หมู่พสกนิกรชาวไทยเท่านั้น แต่พระเกียรติคุณ ยังได้แผ่กระจายไปยังชาวต่างประเทศอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากรางวัลที่องค์กรต่างๆทูลเกล้าฯ ถวาย อาทิ เช่น รางวัลแมกไซไซ รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มูลนิธิโทเรเพื่อ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย) และปริญญากิตติมศักดิ์ เป็นต้น ผลจากการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วในปัจจุบัน กล่าวคือ ประชาชนเหล่านั้นมีสภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ก็ด้วยพระราชอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระองค์ จึงสมควรแล้วที่จะเทิดทูนว่าพระองค์ คือ พระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่ในโลกปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริที่จะริเริ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2494 หลังจากนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2494-2504 เป็นช่วงที่พระองค์มีพระราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะ-อย่างยิ่ง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่คนไทยต้องเสี่ยงกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิเช่น โรคเรื้อน โปลิโอ อหิวาตกโรค เป็นต้น เนื่องจากการแพทย์ ยังไม่ก้าวหน้าและการบริการสาธารณสุขยังไม่แพร่หลาย จึงได้ทรงช่วยเหลือสังคม โดยทรงริเริ่ม สร้างภาพยนตร์ขึ้น เรียกว่า ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ออกฉายเพื่อหารายได้มาดำเนินการกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการ สร้างอาคารทางการแพทย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลภูมิพลในปัจจุบัน, สร้างตึกวชิราลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งสถาบันราชประชาสมาสัย เพื่อผู้ป่วยโรคเรื้อน, ทรงรับองค์การกุศลต่างๆ ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น สภากาชาด อีกทั้งยังทรงช่วยประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และทรงติดตามผลด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่อง ทรงริเริ่มโครงการต่างๆมากมาย อาทิ โครงการแพทย์หลวง พระราชทาน "เรือเวชพาหน์" เพื่อใช้เป็นหน่วยเคลื่อนที่รักษาราษฎร ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ, มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทรงจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศล ทรงเห็นว่า การศึกษา และการสาธารณสุข เป็นพื้นฐานสำคัญในการวางรากฐานของการพัฒนาประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงเริ่มออกเยี่ยมเยียนประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2495-2496 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ ชนบท ภาคกลางก่อนเป็นภาคแรก ทั้งที่เป็นการส่วนพระองค์และอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้ทรงเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2501 เสด็จพระราชดำเนิน ไปภาคเหนือและภาคใต้ และการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกรทั่วทุกภูมิภาคนี้ เปรียบประดุจดั่งการสร้าง "พระคลังข้อมูลด้านการพัฒนา" ทรงคำนึงด้วยพระเมตตาธรรมว่า "หากพสกนิกรของพระองค์สามารถพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติในส่วนรวมได้ในที่สุด"
การสื่อสารด้านต่างๆ
ข้อความเหล่านี้คัดตัดตอนมาจาก คำบรรยายประกอบการอัญเชิญภาพยนตร์ ส่วนพระองค์ที่ได้บันทึก พระราชกรณียกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยนำเสนอในรูปวีดี ทัศน์ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตร เนื่องในงาน "ไอทีเฉลิมพระเกียรติ" ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เรื่องการเดินทางจากประเทศไทยสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) การเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ถึงสวิส ใช้เวลาบิน 3 คืน 4 วัน คืนที่หนึ่งแวะซีลอน คืนที่สองแวะการาจี คืนที่สามไคโร วันที่สี่จึงถึงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันบินรวดเดียว ใช้เวลาสิบเอ็ดชั่วโมงก็ถึงแล้ว ฉะนั้นการติดต่อรับข่าวสาร จดหมาย หรือข่าวสารทาง หนังสือพิมพ์ที่ส่งจากประเทศ ไทยใช้เวลานาน ถ้าจะเทียบกับปัจจุบันมีข่าวสารผ่านดาวเทียม ยิ่งเวลาทางประเทศยุโรปช้ากว่าประเทศไทยประมาณหกชั่วโมง อเมริกาสิบสองชั่วโมง อะไรที่เกิดขึ้นในบ้านเราวันนี้ ทางประเทศยุโรปหรืออเมริกาก็ทราบข่าวนั้นๆ ในวันเดียวกัน ส่วนที่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการในเรื่องความเร็วของเครื่องบิน วิวัฒนาการในการ ส่งข่าวคราว วิวัฒนาการในการแข่งขันกันเป็นที่หนึ่งในโลกที่โลกถือว่าสำคัญนั้น ก็คือความเป็นห่วงบ้านเมือง และประชาชน คนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงพัฒนาให้ประชาชน และประเทศชาติมีความ เจริญมั่นคง ตามที่เคยมีประชาชนร้องออกมาดังๆ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงกลับไปศึกษาต่อเมื่อทรงรับภาระปกครองประเทศแล้วนั้นว่า "อย่าละทิ้งประชาชน" ได้พระราชทานคำตอบผ่านหนังสือวรรณคดีว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้" กาลเวลาที่ทรงครองราชย์ 50 ปี ได้พิสูจน์แล้วว่าพระองค์ มิได้ทรงละทิ้งประชาชนของพระองค์เลย ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่ประเทศสวิส ก็มีประชาชนส่งข่าวและข่าวจากหนังสือพิมพ์ต่างๆ แสดงความห่วงใย จึงทรงหาทางเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตลอดเวลาผ่านหนังสือวรรณคดี และหนังสือพิมพ์แสตน์ดาร์ด ภาษาอังกฤษ ทำให้ประชาชนที่ประเทศไทยคลายความกังวลได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของข่าวสาร จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ "องคต" ทำหน้าที่สื่อข่าวถึงประชาชนชาวไทยในประเทศตลอดเวลาที่เสด็จประทับอยู่ ณ โลซานน์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน คราวที่ทำการต่อเติมพระตำหนักจิตรลดา รัฐบาล ได้รับน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้นขนาดกำลังส่ง 100 วัตต์ พระราชทานชื่อสถานีวิทยุว่า สถานีวิทยุอ.ส. พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สถานีวิทยุให้เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วประเทศ เมื่อเริ่มตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรับเครื่องส่งวิทยุเอง ทรงจัดรายการและทรงเปิด แผ่นเสียงเอง ทรงบันทึกเสียงรายการวงดนตรีของ นักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด วงดนตรีไทย วงข้าราชบริพาร เป็นต้น โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชนมาบรรยายเพื่อเป็นวิทยาทาน ส่วนวงดนตรีไทยและวงดนตรีของทางราชการ เช่น วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีกรมศิลปากร กองทัพบกกองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้มาบรรเลงที่ห้องส่งของสถานีวิทยุ อ.ส. และในรายการ ดนตรีสำหรับประชาชนที่เวทีสวนอัมพร ในวันพุธบ่าย และวันอาทิตย์เช้าถึงเที่ยง ตั้งแต่ยังไม่มีโทรทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่า นักเรียน ต้องคร่ำเคร่งกับการเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สมควรจะได้มีการพักผ่อนระหว่างอาทิตย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิตจัดรายการดนตรีขึ้นในวันพุธบ่าย สามารถลดการนัดชุมนุมของนักเรียนที่ตีกันระหว่างโรงเรียนลงมาได้ อย่างมาก นับว่าได้ผลอย่างยิ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศ สถานีวิทยุ อ.ส. พระราช วังดุสิต ก็ร่วมกับสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการทหารสื่อสาร ถ่ายทอดการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง ทำให้ประชาชนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ได้ยินได้ฟังพระสุรเสียงที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ด้วย ในปี พ.ศ. 2495 เกิดโรคโปลิโอระบาด ภาษาไทยเรียกว่า ไข้ไขสันหลังอักเสบ พอเป็นแล้วจะมีอาการหายใจไม่ออก ต้องใช้ปอดเหล็กช่วย ต้องมาฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ต้องใช้เครื่องพยุงออกกำลังกล้ามเนื้อด้วยการว่ายน้ำและลงอ่างอาบน้ำอุ่น เพื่อใช้ ความแรงของน้ำกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้นด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสถานที่ฟื้นฟูบำบัด โรค โปลิโอ พระราชทานพระนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า ตึกวชิราลงกรณ์ธาราบำบัด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต เชิญชวนประชาชนโดยเสด็จพระราชกุศล หรือพูดง่ายๆ ว่า ทำบุญร่วมกับในหลวง ประชาชนก็หลั่งไหลนำเงินมาทูลเกล้าฯ ถวายมากมายเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาจนโรคนั้นหายไป พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" และเรื่อง "ติโต" ก็เป็นสื่อทางการพิมพ์เรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" แสดงให้เห็นถึงความเสียสละของบุคคลตัวอย่าง ที่มีความกล้าหาญ เสียสละ ยอมอุทิศแม้ชีวิตเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เสรีภาพและ สันติภาพ โดยไม่หวังให้ใครรับรู้ หรือหวังในลาภยศหรือคำสรรเสริญเยินยอใดๆ ทั้งสิ้น นายอินทร์คือตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของ "ผู้ปิดทองหลังพระ" พระราชนิพนธ์แปลอีกเรื่องคือ "ติโต" ติโตเป็นผู้ทำให้ประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยชนชาติ ที่แตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ให้มารวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นประเทศยูโกสลาเวียได้ และในยามวิกฤต สามารถแก้ไขให้ผ่านพ้น ทั้งรักษาความสมบูรณ์ เพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของติโต เมื่อติโตสิ้นชีวิตแล้ว ปัจจุบันนี้เหตุการณ์ทุกข์เข็ญที่เกิดจากความแตกแยกของเผ่าต่างๆ ภายในประเทศ และศัตรูภายนอกประเทศ ดังเห็นอยู่ใน ปัจจุบันนี้ว่า ขาดผู้ปกครองอย่างติโตแล้วเป็นอย่างไรสื่อทางหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ รวมทั้งช่างภาพและนักข่าว ได้เผยแพร่ข่าวสารในเรื่องพระราชกรณียกิจ ในด้านงานพระราช พิธีพระราชกิจต่างๆ และบรรดาผู้มีส่วนในการพระราชกุศลต่างๆ ขอยกตัวอย่างเรื่องที่สื่อมวลชนแพร่ข่าวของมูลนิธิราช-ประชานุเคราะห์ เมื่อเหตุการณ์ทุกข์ภัยเกิดขึ้น ก็ลงข่าว ติดตามข่าว เผยแพร่ข่าว เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เชิญชวนให้ประชาชน โดยเสด็จพระราชกุศล เป็นการทำบุญร่วมกับในหลวง แล้วเผยแพร่และติดตามในเรื่องความช่วยเหลือ จนถึงมือผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ข่าวการจัดตั้งโรงเรียนในจังหวัดต่างๆ การมอบทุนพระราชทานการศึกษาประจำปี ทำให้ประชาชนทราบผลงานของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะ สามารถสะท้อนความรู้สึกของผู้ที่รับความช่วยเหลืออย่างลึกซึ้ง ประทับตาประทับใจ ทำให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง และผู้ชมภาพมีความชื่นชมยินดีที่เห็นภาพ และทราบว่าของที่เขาทำบุญร่วมกับในหลวงนั้นถึงมือผู้รับแล้ว ทั้งยังเคยพระราชทานคำแนะนำช่างภาพและนักข่าวในเรื่อง การถ่ายภาพในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น เมื่อมีการ พระราชทานเลี้ยงพระราชอาคันตุกะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 สี่สิบปีที่ผ่านมา เช่น สถานที่คับแคบก็ต้องมีพูล ร่วมกันทำทุกสถานีพร้อมกัน ทำให้ช่างภาพและผู้สื่อข่าวทำงานได้น้อยคน และช่างภาพควรจะต้องทำหน้าที่นักข่าวไปในตัวด้วย หรือควร ถ่ายภาพในระยะไกลพอสมควร เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ ทรงยกระดับช่างภาพจากสมัยก่อนใช้คำว่า ควบคุมช่างภาพ ปัจจุบันใช้คำว่าอำนวยความสะดวกช่างภาพ ดนตรีเป็นภาษาสากล ทุกชาติ ทุกประเทศมีดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อตั้งแต่ระดับนักเรียนนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย วงดนตรีทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ รวมทั้งส่วนราชการต่างๆ และวงดนตรีเอกชน ทรงพระราชนิพนธ์ "เพลงสากล" และอนุรักษ์เพลงไทยมิให้เสื่อมสูญ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคราวเสด็จเยือนต่างประเทศ ทรงใช้ ดนตรีเป็นสื่อในการกระชับ สัมพันธไมตรีได้อย่างดีเลิศภาพนิ่ง ภาพยนตร์ โปรดให้มีช่างภาพส่วนพระองค์ตั้งแต่เสด็จนิวัติกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนนั้นสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงบันทึกพระราชประวัติไว้ ทั้งภาพนิ่งและภาพยนตร์ 16 มม. ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) ทรงกำหนดวิธีการจัดเก็บแถบบันทึกภาพ บันทึกเสียง ฟิลม์ ฯลฯ ด้วยพระองค์เองเป็นระเบียบเรียบร้อย สามารถค้นหาได้โดยสะดวก แม้แต่การปรู๊ฟฟิล์มภาพนิ่งขนาด 35 มม. สามารถที่จะเลือกรูปได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะใช้ระบบไมโครฟิล์ม กัน วิธีปรู๊ฟมีเลขหมายบันทึกนำปรู๊ฟขึ้นมาเลือกโดยใช้แว่นขยาย แทนที่จะต้องมีเครื่องฉายไมโครฟิลม์ สื่อมวลชน ทั้งภาพนิ่ง และภาพยนตร์ ดังกล่าว ได้มีผู้ขอพระราชทานถ่ายทอดไปไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียติคุณเรื่องการสร้างคน ทรงสร้างคนหลายระดับเพื่อช่วยบริหารกิจการด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนประเทศชาติในปัจจุบัน และ อนาคต ตั้งแต่ ระดับมันสมองของประเทศ ทรงตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล มีผู้สำเร็จมาแล้วและได้ทำประโยชน์ เช่น คุณหมอจรัสสุวรรณเวลา, ดร. ปราโมทย์ ไม้กลัด, คุณหมอประเวศ วะสี, ท่านผู้หญิงศรีจิตรา ระดับผู้ที่ประสบภัยพิบัติจากสาธารณภัย จากคนที่หมดหวังไปสู่ความหวังที่สำเร็จบริบูรณ์ โดยช่วยตนเองและครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคม บุคคลที่เป็นโรค ติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน ผู้หมดอาลัยตายอยากในชีวิต เพราะถือว่าเป็นโรคเวรโรคกรรม ให้มีใจเข้มแข็ง รับการรักษา จนหายจากโรค และรับการแก้ไขในเรื่องความพิการ นักเรียนหูหนวก ตาบอด สภากาชาด ศูนย์บริการโลหิตแห่งช
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)